บทความ15

ความสำคัญของ Barcode บนบรรจุภัณฑ์

ความหมายและระบบของบาร์โค้ด สัญลักษณ์แท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลข

  • มีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง
  • แบบที่นิยมใช้คือแถบสีขาวสลับดำ
  • ขนาดของแถบบาร์โค้ดมีความกว้างที่ต่งกัน ขึ้นอยูกัยความต้องการใช้งานในการแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์

ระบบของบาร์โค้ดสากลที่ใช้กันทั่วโลก คือ EAN (The European Article Numbering) ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต้องเป็นสมาชิกของ EAN สำหรับประเทศไทยจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ GS1 Thailand ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวเลขของบาร์โค้ด

สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก จะมี 13 หลัก สำหรับบรรจุกัณฑ์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถพิมพ์บาร์โค้ดตัวเลข 13 หลักได้ ผู้ผลิต สามารถติดต่อกับ GS1Thailand เพื่อขอรหัสบาร์โค้ดแบบ 8 หลักแทน

การขอบาร์โค้ดเพื่อใช้กับสินค้า

ผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการนำบาร์โค้ดมาพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ของตน ต้องติดต่อกับ GS1 Thailand เพื่อขอแบบฟอร์มและกรอกรายละเอียดพร้อมทั้ง ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิก และค่าธรรมเนียมประจำปี ผู้ผลิตสินค้าจะได้ตัวเลขของผู้ผลิตจำานวน 4 หลัก แต่ละบริษัที่ผลิตสินค้าจะมีตัวเลขของผู้ผลิต 1 เลขหมายเท่านั้น การขอเพิ่มตัวเลขจะต้องได้รับการอนุมัติจาก GS1 Thailand โดยต้องเสียค่าสมาชิกรายปีเพิ่มเติม โดยทั่วไปหมายเลขสมาชิกผู้ผลิตจะเรียงลำดับก่อนหลังตามเวลาที่ยื่นขอกับ GSI Thailand ในกรณีที่ผู้ผลิตต้องการเลขเฉพาะ (แต่ต้องไม่ช้ำกับเลขของผู้ผลิตรายอื่น) จะต้องเสียค่าเลือกเลขหมายเพิ่มเติม ซึ่งรายละเอียดโปรดติดต่อ GS1Thailand

การพิมพ์บาร์โคัดบนบรรจุภัณฑ์

จุดมุ่งหมายของบาร์โค้ด คือ เลขหมายประจำตัวสินค้าที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ช้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นขนาดและคุณภาพการพิมพ์ของบาร์โค้ดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าต้องให้ความสำคัญ

ขนาดของบาร์โค้ด
จุดมุ่งหมายของบาร์โค้ด คือ เลขหมายประจำตัวสินค้าที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นขนาดและคุณภาพการพิมพ์ของบาร์โค้ดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าต้องให้ความสำคัญ

ขนาดของบาร์โค้ด 13 หลัก : เล็กสุด 29.83 มม. x 20.73 มม. (80%) ใหญ่สุด 74.58 มม. x 51.82 มม. (200%)
ขนาดของบาร์โค้ด 8 หลัก : เล็กสุด 21.38 มม. x 17.05 มม. (80%) ใหญ่สุด 53.46 มม. x 42.62 มม. (200%)

ตำแหน่งของบาร์โค้ด

ต้องอยูในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน อยู่ที่เดียวต่อ 1 หน่วยของบรรจุกัณฑ์ ถ้าบรรจุกัณฑ์รวมหน่วยจะต้องปิดบาร์โค้ดของบรรจุภัณฑ์หน่วยย่อยให้มิด เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการอ่านเครื่องสแกนเนอร์

บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่นิยมสูงสุด คือ กล่องกระดาษลูกฟูก ตามมาตรฐานสากลจะมีการกำหนดให้พิมพ์บาร์โค้ดไว้ที่มุมของด้านล่างกล่องทั้ง 4 ด้านข้าง โดยมีระยะห่างจากขอบกล่องที่แน่นอนการกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค จะกำหนดให้พิมพ์บาร์โค้ดที่กล่องกระดายลูกฟูกที่ด้านฝายนและฝ่าล่างด้วย เพราะการลำเลียงกล่องสินค้าและการอ่านบาร์โค้ดเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่ว่ากล่องสินค้าจะอยู่ในตำแหน่งใดเมื่ออยู่บนสายพานลำเลียงเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ติดตั้งอยู่กับที่ก็จะอ่านบาร์โค้ดของกล่องนั้นได้เสมอ

สีของบาร์โค้ด
สีของรหัสที่เหมาะที่สุดสำหรับบรรจุภัณฑ์ขายปลีก คือ แท่งสีดำบนพื้นสีขาว วัตถุประสงค์ในด้านความสวยงาม คู่สีอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน เช่น แท่งสีน้ำเงินบนพื้นขาว แท่งสีน้ำตาลเช้มบนพื้นสีขาวสำหรับบาร์โคัดของบรรจุภัณท์เพื่อการขนส่ง ถ้าเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกสีน้ำตาล แนะนำว่าให้ใช้แห่งสีดำ หรือน้ำเงินเข้มเท่านั้น

แหล่งที่มา : https://1th.me/VnUrV

Tags: No tags

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *