ปก

บริษัท ไอซีที แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด มอบแอลกอฮอล์สำนักงานสรรพสามิต

     บริษัท ไอซีที แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้มอบแอลกอฮอล์เจล ขนาด 500 ml. จำนวน 24 ขวด และแอลกอฮอล์ สเปรย์ ขนาด 5,000 ml. จำนวน 24 แกลลอน ให้กับสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สมุทรปราการ 6 เพื่อใช้ในการทำความสะอาดมือ
เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564

000

ชั่วโมงนี้อะไรก็ฉุดไม่อยู่! ล่าสุด
คุณโอม-ผู้บริหารไฟแรง

บ.ไอซีที แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 
ลงข่าวในไทยรัฐ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งด้านเครื่องสำอางกัญชงกัญชาอย่างแท้จริง

       วินาทีนี้คงไม่มีเมกะเทรนด์ไหนจะมาแรงแซงทางโค้งเท่ากับ “ธุรกิจกัญชา-กัญชง” ซึ่งได้รับการปลดล็อกจากรัฐบาลให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ ปลุกกระแสคึกคักไปทั่วทุกอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับ “ธีมผู้สูงอายุ” ที่สร้างโอกาสธุรกิจเกิดใหม่มากมายนับไม่ถ้วน พร้อมรับสังคมวัยเก๋า ซึ่งมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างรวดเร็วในเมืองไทย ใครจับเทรนด์รุ่งมาต่อยอดความรวยได้ก่อนย่อมมีชัยเหนือคู่แข่ง

       ในฐานะทายาทผู้นำเข้าบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรายใหญ่ที่สุดของอาเซียน “คอมเม็ทส์ อินเตอร์เทรด จำกัด” ที่คร่ำหวอดในวงการแพ็กเกจจิ้งเครื่องสำอางไทยมาหลายทศวรรษ “หนุ่มโอม-สฤษฏ์รัช พิบูลย์สวัสดิ์” ทุ่มเทเวลา 2 ปีเต็ม ปลุกปั้นบริษัทน้องใหม่ “ไอซีที แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด” เพื่อรับจ้างผลิตเครื่องสำอางจากกัญชา-กัญชง อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยถือเป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบจดแจ้งเครื่อง สำอางจากผงใบกัญชาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

       ก็เพราะเป้าหมายสูงสุดคือ อยากผลักดันให้กัญชา-กัญชง กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศไทย สร้างรายได้จากการส่งออกไปทั่วโลก งานนี้ “ไอซีที” จึงร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนเพลาเพลินฯ จังหวัดบุรีรัมย์ (PHC) ผู้นำด้านการปลูกกัญชาและกัญชงแบบเกษตรมาตรฐานสูงเกรดทางการแพทย์ คิดค้นพัฒนาวัตถุดิบคุณภาพจากกัญชา-กัญชง เพื่อนำมาผลิตเครื่องสำอางเป็นสินค้าต้นแบบของไทย โดยส่วนที่นำมาใช้จะมีหลากหลาย ทั้งใบ, ลำต้น, ราก และกาก ตามนโยบายซีโร่เวสต์ของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) ยอดฮิตสุดน่าจะเป็นส่วนของใบกัญชาแห้ง ปัจจุบันราคาตลาดกิโลกรัมละ 1,000-35,000 บาท ผลจากการศึกษาพบว่ากัญชา-กัญชง มีสรรพคุณสำคัญในการยับยั้งอนุมูลอิสระ, ช่วยคงความอ่อนเยาว์, ปรับสมดุลให้ผิว, ลดเลือนริ้วรอย, ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของชั้นผิว และให้ความชุ่มชื้นได้ดี

       งานนี้ “หนุ่มโอม” พิชิตหลักไมล์แรก ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบแรกออกสู่ตลาดก่อนใคร นั่นคือ “บีไวลด์ แคนนาบิส ลีฟ พาวเดอร์ เฟเชียล มาส์ก” เป็นมาส์กหน้าใสจากผงใบกัญชา ช่วยลดเลือนริ้วรอยและเพิ่มความชุ่มชื้นทันใจ เสริมประสิทธิภาพลดรอยหมองคล้ำ และอาการบวมช้ำ ด้วยสารสกัดจากใบบัวบกกับวิตามินซี ถือเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามองอีกหนึ่งคนรุ่นใหม่ที่จับกระแสเทรนด์ฮอตมาปลุกปั้นเป็นธุรกิจดาวรุ่งได้อย่างน่าสนใจ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2131007

55

“วิสาหกิจชุมชนเพลาเพลินฯ” ร่วมมือ “ICT” ผนึกกำลังพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกัญชา กัญชง พร้อมลงแข่งตลาดโลก

       สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (25 มิถุนายน 2564) – วิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน จ.บุรีรัมย์ (PHC) ผู้นำด้านการปลูกกัญชาและกัญชงแบบเกษตรมาตรฐานสูงเกรดทางการแพทย์ของประเทศไทย ร่วมมือกับ บริษัท ไอซีที แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้นำด้านการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและผิวกาย ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในโรงแรมและสปา รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆคุณภาพสูงมาตรฐานระดับสากล ร่วมพัฒนาวัตถุดิบ จากกัญชา กัญชง สู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเป็น Pilot Project นำร่องเป็นรายแรกของไทย ตั้งเป้ามุ่งสู่การแข่งขันในตลาดโลก

       คุณศศิการ ล้อจิโรภาส ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน จ. บุรีรัมย์ (PHC) กล่าวว่า “จากที่ทางวิสาหกิจชมุชนเพลาเพลินฯ ได้มีประสบการณ์การปลูกกัญชาทางการแพทย์ ในระบบปิดแบบเกษตรมาตรฐานสูงเกรดทางการแพทย์ ให้กับภาคสาธารณสุขใช้ทำเป็นยารักษาโรคมาแล้ว ทางวิสาหกิจเพลาเพลินฯ จึงได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนในทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ด้วยการนำผลผลิตส่วนที่ไม่ใช่ยาเสพติด และไม่ผิดกฎหมายมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง“

       คุณศลิษา พิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอซีที แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้ เราได้ร่วมลงนามภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่อง สำอาง ซึ่งใช้วัตถุดิบจากกัญชา กัญชง และสมุนไพรอื่นๆ เพื่อต่อยอดและเป็นแนวทางในการหาโอกาสใหม่ๆ ในเชิงเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมให้กับกัญชากัญชงที่กำลังจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตัวใหม่ของ ประเทศไทย ให้มีมาตรฐานสากลและพร้อมก้าวไกลไปสู่วงการเครื่องสำอางระดับโลก และในวันเดียวกันนี้ผลิตภัณฑ์ที่เราร่วมกันวิจัยพัฒนาเป็น Pilot Project คือผลิตภัณฑ์แคนนาบิส ลีฟ พาวเดอร์ เฟเชียล มาส์ก ได้มีการจดแจ้งผลิตภัณฑ์กับทาง อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังดำเนินการจดแจ้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่นกัน”

       สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศกฎหมายที่มีกัญชา กัญชง เป็นส่วนผสม ได้มีการกำหนดให้ส่วนที่ไม่ใช่ยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบที่ไม่ติดช่อดอก และกากจากการสกัด และน้ำมันหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงและสารสกัด Cannabidiol (CBD) ซึ่งมี Tetrahydrocannabinol (THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเครื่องสำอางได้ เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2564 ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าในตลาดเครื่องสำอาง อีกทั้งยังเป็นผลดีของภาคการเกษตรผู้ปลูกกัญชาและกัญชง และเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้ก้าวเข้าสู่การแข่งขันในอุตสาหกรรมกัญชา กัญชง ระดับสากล

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.hooninside.com/news-feed/217492/view/

แก้แล้ว

กระทรวงสาธารณสุข ไฟเขียว ปลดล็อกยาสมุนไพร – เครื่องสำอางกัญชา กัญชง

     สิ้นสุดการรอคอย กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 5 ฉบับ ปลดล็อกเครื่องสำอางกัญชา-กัญชง พร้อมขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร คุมเข้มฉลากผลิตภัณฑ์

เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน และส่งเสริมการใช้กัญชา กัญชง ในเครื่องสำอาง และขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ อนุญาตการกัญชา-กัญชง ในเครื่องสำอาง และขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร จำนวน 5 ฉบับ โดยมีใจความสำคัญดังนี้

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564 ระบุอนุญาตให้ใช้ยาน้ำมันกัญชาที่ผลิตจากช่อดอก ซึ่งยามี delta-9- tetrahydrocannabinol (THC) 2.0 mg/ml ยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี Cannabidiol (CBD) 100 mg/ml. และมีdelta-9-tetrahydrocannabinol (THC) ในอัตราส่วนที่ CBD : THC มากกว่าหรือเท่ากับ 20:1 และยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี Delta-9 tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ในอัตราส่วน 1:1 เพื่อรักษาเสริมในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือ มีอาการปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้หรือไม่ได้ผล ซึ่งสั่งใช้ยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรม หลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองส่วนยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี Delta-9- tetrahydrocannabinol (THC) ไม่เกิน 0.5 mg/drop สามารถใช้รักษาเสริมหรือรวบรวมกับการรักษาตามมาตรฐานในการรักษาภาวะคลื่นไส้ อาเจียนจากเคมีบำบัด และใช้รักษาเสริมในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือ
มีอาการปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้หรือไม่ได้ผล ให้สั่งใช้ยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการ ใช้กัญชาทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชา และกัญชงในเครื่องสสำอาง พ.ศ. 2564 ระบุส่วนประกอบที่ได้จากการสกัดกัญชาหรือกัญชง และต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนัก และห้ามใช้สารแคนนาบิไดออลที่ได้จากการสังเคราะห์ (Synthetic Cannabidiol) ภายใต้เงื่อนไข

  1. ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปาก หรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น
  2. วัตถุดิบที่ใช้ต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2%
  3. ในกรณีเครื่องสำอางพร้อมใช้รูปแบบน้ำมัน หรือ Soft Gelatin Capsules จะต้องมีสาร THC ปนเปื้อน ไม่เกิน 0.001%

ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง ฉลากของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชา และกัญชง พ.ศ. 2564 ระบุให้ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล จากกัญชา และกัญชงเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางจัดทำฉลากให้สอดคล้องกับประกาศ คณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง ฉลากของเครื่องสำอาง พ.ศ. 2562 โดยต้องแสดงคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคล หรือข้อความเพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค (ถ้ามี) และหากมีสารใด ๆ ในสูตร ที่ต้องแสดงคำเตือนตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง ว่าด้วยเรื่องคำเตือนให้แสดงคำเตือนดังกล่าวด้วย และในกรณีคำเตือนซ้ำ ให้แสดงข้อความตามบัญชี แนบท้ายนอกจากนี้ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล จากกัญชา และกัญชงเป็นส่วนผสมต้องแสดงความเข้มข้น ของสารแคนนาบิไดออล ในฉลากเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก (Weight by Weight) โดยมีบังคับข้อความดังต่อไปนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ทุก ประเภท ยกเว้น ผลิตภัณฑ์รูปแบบ น้ำมัน หรือ รูปแบบ Soft Gelatin Capsules

คำเตือนที่ฉลาก :

ㆍผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคืองได้
ㆍหากใช้แล้วมีความผิดปกติ ใด ๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร

  1. ผลิตภัณฑ์รูปแบบ น้ำมัน หรือ รูปแบบ Soft Gelatin Capsules

คำเตือนที่ฉลาก :

ㆍห้ามรับประทาน
ㆍผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคืองได้ หากใช้แล้วมีความผิดปกติ ใด ๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้ส่วนของกัญชงในเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564 ระบุเงื่อนไขสำคัญ คือ กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ที่นำมาใช้จะต้องไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักทั้งนี้ ส่วนของกัญชงต้องทำให้แห้งแล้ว และต้องใช้ในวัตถุประสงค์ทางเครื่องสำอางเท่านั้น และห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปาก หรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น ในกรณีเครื่องสำอางพร้อมใช้จะต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2% ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของส่วนของกัญชง พ.ศ. 2564 ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนของกัญชงเป็นส่วนผสม ในการผลิตเครื่องสำอาง ต้องแสดงคำเตือนตามที่ระบุ คือ

ㆍผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิด การแพ้หรือการระคายเคืองได้
ㆍหากใช้แล้วมีความผิดปกติ ใด ๆ เกิดขึ้น ต้องหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร

UPDATE กฎหมายกัญชา-กัญชง ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2021

รายละเอียดกัญชา
https://www.thaipost.net/main/detail/103322
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/105/T_0001.PDF

รายละเอียดกัญชง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/105/T_0002.PDF

 

ขอบคุณแหล่งที่มา https://www.thansettakij.com/content/business/480391?as=

บทความ8

ความแตกต่างระหว่างอายไลเนอร์ประเภทต่าง ๆ

      อายไลเนอร์มีกี่แบบ และแต่ละแบบมีข้อดีอย่างไรและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? วันนี้ทางไอคัลเลอร์จะนำเสนอรูปแบบและอายไลเนอร์ทั้งหมดที่เราเชี่ยวชาญ มีรายละเอียดดังนี้

1. Gel Liner Pencil

      หาซื้อได้ง่ายตามร้านเครื่องสำอางทั่วไปมีหลากหลายสีให้เลือกใช้ เขียนง่าย เนื่องจากเป็นเนื้อเจลในรูปแบบแท่งดินสอ เหมาะสำหรับการเขียนขอบตาด้านใน เกลี่ยง่ายสำหรับการแต่งตาแบบสโมกกี้อาย

2. Dip Eyeliner

      เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเส้นไลเนอร์แบบแคทอายได้เส้นอายไลเนอร์ที่หนา เหมาะสำหรับคนตาชั้นเดียวกรีดง่าย แห้งไว สีดำสนิทติดทนนาน

3. Eyeliner Pen

      ได้เส้นไลเนอร์ที่บาง แต่คม เหมาะสำหรับการแต่งตาแบบธรรมชาติเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นกรีดอายไลเนอร์ ทำให้ขนตาดูหนาขึ้นได้ล้างออกง่ายได้ง่ายด้วย Remover เนื่องจากเป็นแผ่นฟิล์ม

4. Cream Gel Liner

แหล่งที่มา : https://1th.me/RI03u

บทความ10

Pocket Zip เครื่องสำอางใส่ซองรูปแบบใหม่

     เทรนด์การขายเครื่องสำอางในรูปแบบ Pocket Zip กำลังมาแรง สามารถเลือกใส่เครื่องสำอางได้ตั้งแต่แป้ง บลัชออน ลิปสติก ลิปจุ่ม มาสคาร่า อายไลเนอร์

     Pocket Zip จริงๆ แล้วคือซองซีลสามด้าน ที่มีการเพิ่มคุณสมบัติของ Seal แบบล็อคลงไป ทำให้รูปทรงของซองดูน่ารักเหมาะกับสินค้าเครื่องสำอาง ทำให้สินค้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ออกแบบมาให้สามารถเจาะรูด้านบนเพื่อแขวนสินค้าขายตามร้านสะดวกซื้อได้ บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความสะดวกในการบรรจุผลิตภัณฑ์จำนวนมากๆ เช่น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารเสริมและยา บรรจุภัณฑ์ชาและกาแฟ เพิ่มความแปลกใหม่ในการขายเครื่องสำอาง เหมาะกับการขายในร้านสะดวกซื้อ ถุงมีซิปล๊อค เปิดและปิดบรรจุได้เลย ไม่ต้องใช้เครื่องซีล มีรูเพื่อแขวนโชว์ที่ชั้นแสดงสินค้า และมีขนาดให้เลือกหลายขนาดตามประเภทของเครื่องสำอางที่ต้องการใส่

รวมงานดีไซน์ออกแบบซอง เมคอัพในรูปแบบถุง Zip Lock 

แหล่งที่มา : https://1th.me/EHu8X

บทความ2

อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในช่วง โควิด-19

วัตถุดิบ (Raw Material)

  • วัตถุดิบที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อสถานการณ์ในต่างประเทศยังไม่คลี่คลาย การนำเข้าวัตถุดิบบางประเภทที่มีความต้องการสูงจึงยังมีปัญหา เช่น Carbomer ที่ใช้ในการผลิตแอลกอฮอล์เจล ยังมีความขาดแคลนในตลาด
  • วัตถุดิบที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ เช่น Ethanol มีการจำกัดปริมาณการขายจากองค์การสุรา รวมทั้งขั้นตอนกระบวนการรายงานค่อนข้างมีความซับซ้อนต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หากผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีการชะลอตัว การสั่งวัตถุดิบเข้าไปใช่ในการผลิตจึงมีการชะลอตัวไปด้วย

ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

เครื่องสำอางทำความสะอาด (Cleansing) เช่น สบู่ แอลกอฮอล์เจล ครีม อาบน้ำ น้ำยาทำความสะอาดมือมีการขยายตัว เนื่องจากมีความต้องการของตลาดสูง

เครื่องสำอางในกลุ่มบำรงผิว (Skincare) ค่อนข้างทรงตัว แต่กลุ่มที่เป็น Prestige Beauty จะมีการชะลอตัว เนื่องจากเป็นสินค้าที่ส่วนใหญ่อยู่ตาม Store เมื่อห้างมีการปิด ยอดขายจึงชะลอตัวไปด้วย

เครื่องสำอางสำหรับตกแต่ง (Makeup) มีการชะลอตัว เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ได้ออกจากบ้านจึงมีความจำเป็นในการใช้สินค้าลดลง

 

 

 

 

ในตลาดความงาม 218,000 ล้านบาท
แบ่งเป็นตลาดสกินแคร์ 42%

  • ดูแลเส้นผม 15%
  • สุขอนามัย 14%
  • เมคอัพ 12%
  • เครื่องสำอางเกี่ยวกับช่วงปาก และริมฝีปาก 12%
  • น้ำหอม 5%
บทความ12

ตัวย่อบนฉลาก MFG – EXP – EXD BB และ BBE คืออะไร?

ตัวย่อบนฉลาก เครื่องสำอาง MFG – MFD – EXP – EXD
ความหมาย
MFG / MFD หมายถึง วันที่ผลิต (ย่อมาจาก Manufacturing date / Manufactured Date )
EXP/EXD หมายถึง วันหมดอายุ (ย่อมาจาก Expiry Date / Expiration Date
BB / BBE หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่ (ย่อมาจาก Best Before / Best Before End)
Batch. No. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน
L & C. No. ย่อมาจาก lot and control number หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิตและควบคุมคุณภาพ มีความหมายคล้ายกับ Batch. No.

ตัวย่อบนฉลากผลิตภัณฑ์ อาหาร/ยา
A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ
C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง)
ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมายดังนี้
1. คือ ยาเดี่ยว (มีตัวยาสำคัญตัวเดียว)
2. คือ ยาสูตรผสม (มีตัวยาสำคัญหลายตัว) Reg. No. หมายถึง เลขที่ทะเบียนยา (ย่อมาจากคำว่า registered number) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน

แหล่งที่มา : https://1th.me/OS6OQ

บทความ11

คำโฆษณาเกินจริงแบบไหนบ้างที่ อย.ห้ามใช้

คำลักษณะคำต้องห้ามในการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายหมายถึง การใช้คำโฆษณาโดยสื่อความหมายว่าได้รับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ห้ามคำโฆษณาที่มีการเปรียบเทียบกับหัตถการทางการแพทย์ เช่น การเลเชอร์ การฉีดโบท็อกซ์ หรือ การศัลยกรรม และ สำคัญที่สุด ห้ามมีการโฆษณาเกินจริง เช่น ไร้สารพิษ ไร้สารเคมี หรือ ทำจากธรรมชาติ 100 %

การโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสบู่ 

การโฆษณาโดยสื่อความหมายว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา และ/หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์การเปรียบเทียบกับการทำหัตถการทางการแพทย์เช่น การเลเซอร์ การฉีดโบท็อกซ์การศัลยกรรม ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่าผลที่ได้จากการใช้เครื่องสำอางนั้นเทียบเท่าหรือดีกว่าการทำการหัตถการ

1. ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
2. ป้องกันการเกิดสิว
3. รักษาโรคผิวหนัง
4. รักษาโรคสะเก็ดเงิน
5. ขาวไว ขาวทันที
6. ต้านอนุมูลอิสระ
7. ธรรมชาติ 100%

8. ลดรอยแดง
9. ลดรอยดำ
10. ลดรอยสิว
11. ลดฝ้ากระ
12. สลายฝ้า
13. เห็นผล…
14. ระบุวันเห็นผล

15. รับประกัน
16. จริง เช่น ขาวจริง
17. หน้าเรียว
18. คำการันตีผล
19. กระชับสัดส่วน
20. ไม่เห็นผล
21. ครีมทาสิว ฝ้า เช่น ขาวจริงใน 7 วัน

22. ขาวขั้นเทพ
23. ขาวใสวิ้งใน 1 นาที
24. ขาวจริง ขาว
25. ไร้สารพิษ
26. ไร้สารเคมี ไม่มีสารเคมีเจือปน
27. ทำจากธรรมชาติ 100%
28. ไม่เห็นผลยินดีคินเงิน

แหล่งที่มา : https://1th.me/aEden