บทความ12

ตัวย่อบนฉลาก MFG – EXP – EXD BB และ BBE คืออะไร?

ตัวย่อบนฉลาก เครื่องสำอาง MFG – MFD – EXP – EXD
ความหมาย
MFG / MFD หมายถึง วันที่ผลิต (ย่อมาจาก Manufacturing date / Manufactured Date )
EXP/EXD หมายถึง วันหมดอายุ (ย่อมาจาก Expiry Date / Expiration Date
BB / BBE หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่ (ย่อมาจาก Best Before / Best Before End)
Batch. No. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน
L & C. No. ย่อมาจาก lot and control number หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิตและควบคุมคุณภาพ มีความหมายคล้ายกับ Batch. No.

ตัวย่อบนฉลากผลิตภัณฑ์ อาหาร/ยา
A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ
C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง)
ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมายดังนี้
1. คือ ยาเดี่ยว (มีตัวยาสำคัญตัวเดียว)
2. คือ ยาสูตรผสม (มีตัวยาสำคัญหลายตัว) Reg. No. หมายถึง เลขที่ทะเบียนยา (ย่อมาจากคำว่า registered number) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน

แหล่งที่มา : https://1th.me/OS6OQ

บทความ11

คำโฆษณาเกินจริงแบบไหนบ้างที่ อย.ห้ามใช้

คำลักษณะคำต้องห้ามในการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายหมายถึง การใช้คำโฆษณาโดยสื่อความหมายว่าได้รับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ห้ามคำโฆษณาที่มีการเปรียบเทียบกับหัตถการทางการแพทย์ เช่น การเลเชอร์ การฉีดโบท็อกซ์ หรือ การศัลยกรรม และ สำคัญที่สุด ห้ามมีการโฆษณาเกินจริง เช่น ไร้สารพิษ ไร้สารเคมี หรือ ทำจากธรรมชาติ 100 %

การโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสบู่ 

การโฆษณาโดยสื่อความหมายว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา และ/หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์การเปรียบเทียบกับการทำหัตถการทางการแพทย์เช่น การเลเซอร์ การฉีดโบท็อกซ์การศัลยกรรม ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่าผลที่ได้จากการใช้เครื่องสำอางนั้นเทียบเท่าหรือดีกว่าการทำการหัตถการ

1. ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
2. ป้องกันการเกิดสิว
3. รักษาโรคผิวหนัง
4. รักษาโรคสะเก็ดเงิน
5. ขาวไว ขาวทันที
6. ต้านอนุมูลอิสระ
7. ธรรมชาติ 100%

8. ลดรอยแดง
9. ลดรอยดำ
10. ลดรอยสิว
11. ลดฝ้ากระ
12. สลายฝ้า
13. เห็นผล…
14. ระบุวันเห็นผล

15. รับประกัน
16. จริง เช่น ขาวจริง
17. หน้าเรียว
18. คำการันตีผล
19. กระชับสัดส่วน
20. ไม่เห็นผล
21. ครีมทาสิว ฝ้า เช่น ขาวจริงใน 7 วัน

22. ขาวขั้นเทพ
23. ขาวใสวิ้งใน 1 นาที
24. ขาวจริง ขาว
25. ไร้สารพิษ
26. ไร้สารเคมี ไม่มีสารเคมีเจือปน
27. ทำจากธรรมชาติ 100%
28. ไม่เห็นผลยินดีคินเงิน

แหล่งที่มา : https://1th.me/aEden

บทความ15

ความสำคัญของ Barcode บนบรรจุภัณฑ์

ความหมายและระบบของบาร์โค้ด สัญลักษณ์แท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลข

  • มีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง
  • แบบที่นิยมใช้คือแถบสีขาวสลับดำ
  • ขนาดของแถบบาร์โค้ดมีความกว้างที่ต่งกัน ขึ้นอยูกัยความต้องการใช้งานในการแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์

ระบบของบาร์โค้ดสากลที่ใช้กันทั่วโลก คือ EAN (The European Article Numbering) ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต้องเป็นสมาชิกของ EAN สำหรับประเทศไทยจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ GS1 Thailand ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวเลขของบาร์โค้ด

สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก จะมี 13 หลัก สำหรับบรรจุกัณฑ์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถพิมพ์บาร์โค้ดตัวเลข 13 หลักได้ ผู้ผลิต สามารถติดต่อกับ GS1Thailand เพื่อขอรหัสบาร์โค้ดแบบ 8 หลักแทน

การขอบาร์โค้ดเพื่อใช้กับสินค้า

ผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการนำบาร์โค้ดมาพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ของตน ต้องติดต่อกับ GS1 Thailand เพื่อขอแบบฟอร์มและกรอกรายละเอียดพร้อมทั้ง ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิก และค่าธรรมเนียมประจำปี ผู้ผลิตสินค้าจะได้ตัวเลขของผู้ผลิตจำานวน 4 หลัก แต่ละบริษัที่ผลิตสินค้าจะมีตัวเลขของผู้ผลิต 1 เลขหมายเท่านั้น การขอเพิ่มตัวเลขจะต้องได้รับการอนุมัติจาก GS1 Thailand โดยต้องเสียค่าสมาชิกรายปีเพิ่มเติม โดยทั่วไปหมายเลขสมาชิกผู้ผลิตจะเรียงลำดับก่อนหลังตามเวลาที่ยื่นขอกับ GSI Thailand ในกรณีที่ผู้ผลิตต้องการเลขเฉพาะ (แต่ต้องไม่ช้ำกับเลขของผู้ผลิตรายอื่น) จะต้องเสียค่าเลือกเลขหมายเพิ่มเติม ซึ่งรายละเอียดโปรดติดต่อ GS1Thailand

การพิมพ์บาร์โคัดบนบรรจุภัณฑ์

จุดมุ่งหมายของบาร์โค้ด คือ เลขหมายประจำตัวสินค้าที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ช้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นขนาดและคุณภาพการพิมพ์ของบาร์โค้ดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าต้องให้ความสำคัญ

ขนาดของบาร์โค้ด
จุดมุ่งหมายของบาร์โค้ด คือ เลขหมายประจำตัวสินค้าที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นขนาดและคุณภาพการพิมพ์ของบาร์โค้ดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าต้องให้ความสำคัญ

ขนาดของบาร์โค้ด 13 หลัก : เล็กสุด 29.83 มม. x 20.73 มม. (80%) ใหญ่สุด 74.58 มม. x 51.82 มม. (200%)
ขนาดของบาร์โค้ด 8 หลัก : เล็กสุด 21.38 มม. x 17.05 มม. (80%) ใหญ่สุด 53.46 มม. x 42.62 มม. (200%)

ตำแหน่งของบาร์โค้ด

ต้องอยูในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน อยู่ที่เดียวต่อ 1 หน่วยของบรรจุกัณฑ์ ถ้าบรรจุกัณฑ์รวมหน่วยจะต้องปิดบาร์โค้ดของบรรจุภัณฑ์หน่วยย่อยให้มิด เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการอ่านเครื่องสแกนเนอร์

บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่นิยมสูงสุด คือ กล่องกระดาษลูกฟูก ตามมาตรฐานสากลจะมีการกำหนดให้พิมพ์บาร์โค้ดไว้ที่มุมของด้านล่างกล่องทั้ง 4 ด้านข้าง โดยมีระยะห่างจากขอบกล่องที่แน่นอนการกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค จะกำหนดให้พิมพ์บาร์โค้ดที่กล่องกระดายลูกฟูกที่ด้านฝายนและฝ่าล่างด้วย เพราะการลำเลียงกล่องสินค้าและการอ่านบาร์โค้ดเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่ว่ากล่องสินค้าจะอยู่ในตำแหน่งใดเมื่ออยู่บนสายพานลำเลียงเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ติดตั้งอยู่กับที่ก็จะอ่านบาร์โค้ดของกล่องนั้นได้เสมอ

สีของบาร์โค้ด
สีของรหัสที่เหมาะที่สุดสำหรับบรรจุภัณฑ์ขายปลีก คือ แท่งสีดำบนพื้นสีขาว วัตถุประสงค์ในด้านความสวยงาม คู่สีอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน เช่น แท่งสีน้ำเงินบนพื้นขาว แท่งสีน้ำตาลเช้มบนพื้นสีขาวสำหรับบาร์โคัดของบรรจุภัณท์เพื่อการขนส่ง ถ้าเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกสีน้ำตาล แนะนำว่าให้ใช้แห่งสีดำ หรือน้ำเงินเข้มเท่านั้น

แหล่งที่มา : https://1th.me/VnUrV